เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 2022 (พ.ศ. 2565) เวลา 14:00 น. (GMT+7) - บริษัท Thaiware ผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป และผู้ใช้ในงานองค์กร จับมือกับ TeamViewer ผู้นำด้านโซลูชันการเชื่อมต่อระยะไกลจากประเทศเยอรมนี จัดงานสัมมนาออนไลน์ครั้งที่ 3 ในชื่อว่า
Thaiware WEBCON # 3 : Create a Better Work with TeamViewer
งานสัมมนาออนไลน์ แนะนำหลากหลายโซลูชัน ยกระดับการทำธุรกิจ เปิดโลกการเชื่อมต่อระยะไกล สู่ความเป็นไปได้ไร้ขอบเขตด้วย TeamViewer โดยได้เปิดให้ผู้สนใจเข้าฟังฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย และมีการถ่ายทอดสด (Live) งานสัมมนาผ่าน แพลตฟอร์ม Zoom Meeting
คุณ Thomas Higgs ดำรงตำแหน่ง Regional Sales Leader ASEAN บริษัท TeamViewer
กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงานสัมมนา
เปิดงานสัมมนาออนไลน์ ด้วยการกล่าวต้อนรับจากคุณ Thomas Higgs โดยกล่าวว่า "TeamViewer นั้นภาคภูมิใจที่ได้เป็น Partner กับ Thaiware มาแล้วถึง 5 ปี ในฐานะที่ทาง Thaiware ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดจำหน่ายรายแรกในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ (Thailand Official Distributor) โดยเรามุ่งมั่นที่จะมอบโซลูชัน และบริการที่ดีให้กับลูกค้าตลอดไป หวังว่าทุกท่านจะได้รับประโยชน์จากการเข้าฟังสัมมนาครั้งนี้ หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเกี่ยวกับรายละเอียดของโซลูชันจาก TeamViewer ก็สามารถติดต่อสอบถามทาง Thaiware ได้เลยครับ"
คุณมาริสา โนนศรีชัย ดำรงตำแหน่ง Senior Inside Sales Representative บริษัท TeamViewer
แนะนำหลากหลายโซลูชันที่น่าสนใจจาก TeamViewer
โดยภายในงานสัมมนาออนไลน์ มีคุณมาริสา จากทาง TeamViewer มาบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับหลากหลายโซลูชันที่น่าสนใจ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
สิ่งที่ทำให้ TeamViewer แตกต่างจากโปรแกรมเชื่อมต่อระยะไกลอื่น ๆ ก็คือความเสถียรและความปลอดภัยในการใช้งาน โดยการเชื่อมต่อจะถูกเข้ารหัสแบบ End-to-end 256-bit AES และยังมีคุณสมบัติ การยืนยันตัวตนแบบ 2 ชั้น (Two-Factor Authentication หรือ 2FA) ให้ใช้งาน ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ที่หลากหลายตั้งแต่ คอมพิวเตอร์ เซิร์ฟเวอร์ ไปจนถึงอุปกรณ์มือถือ โดยสามารถนำไปใช้งานได้ตั้งแต่การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับอุปกรณ์ปลายทาง (Remote Support) หรือการเชื่อมต่อในรูปแบบเข้าใช้งานเพื่อควบคุมอุปกรณ์ปลายทาง (Remote Access) ได้อย่างรวดเร็วง่ายดาย
รองรับทั้งการเชื่อมต่อระหว่างเครื่อง PC การเชื่อมต่อระหว่างเครื่อง PC กับอุปกรณ์พกพา (แท็บเล็ต/สมาร์ทโฟน) และการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์พกพา รองรับการติดตั้งบนระบบปฏิบัติการที่หลากหลาย อาทิ Windows, macOS, Linux, Android, iOS
(ดูรายละเอียด : โปรแกรม TeamViewer)
TeamViewer Tensor แพลตฟอร์มระบบคลาวด์สำหรับการใช้งานในองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ โดยมีความแตกต่างจากเวอร์ชัน TeamViewer ปกติคือ Tensor จะเป็นการเข้าถึงการเชื่อมต่อในรูปแบบ SaaS ผ่านระบบคลาวด์ (Software-as-a-Service หรือ การให้บริการในด้านซอฟต์แวร์)
โดย TeamViewer Tensor นั้น มีจุดเด่นตรงที่ สามารถติดตั้งโปรแกรมลงในเครื่องปลายทางที่เราต้องการเข้าถึงจากระยะไกลได้ง่าย และขยายจำนวนเครื่องปลายทางได้อย่างรวดเร็ว และยังมีมาตรการในการควบคุมการเชื่อมต่อจากระยะไกลที่เข้มงวด สามารถตรวจสอบการเชื่อมต่อได้แบบลงลึกในรายละเอียด
ทำให้ TeamViewer Tensor เหมาะมากสำหรับธุรกิจที่ให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยข้อมูล และความเป็นส่วนตัวของข้อมูล อาทิ ธุรกิจการเงิน สถานพยาบาล ธุรกิจเกี่ยวกับกฎหมาย และอีกจุดเด่นของ Tensor คือสามารถเชื่อมต่อ และทำงานร่วมกับแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์อื่น ๆ ที่องค์กรใช้งานอยู่ได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น Microsoft Intune, Dynamics 365, Active Directory, MobileIron, Amazon WorkSpaces, Zendesk, ServiceNow, Jira, Freshworks, Freshdesk, IBM MaaS360 และ Salesforce เป็นต้น
(ดูรายละเอียด : โปรแกรม TeamViewer Tensor)
ประกอบไปด้วย 5 โซลูชันย่อย ได้แก่
TeamViewer Assist AR เป็นโซลูชันสำหรับการขอความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคจากระยะไกล ด้วย เทคโนโลยี AR (Augmented Reality) ที่เปิดโอกาสให้พนักงานที่เครื่องคอมพิวเตอร์เกิดปัญหา หรือเจ้าหน้าที่ในไลน์การผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมที่เครื่องจักรการผลิตเกิดปัญหา ได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ หรือผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ในระยะไกล ในรูปแบบการสื่อสารแบบวิดีโอคอลผ่าน แท็บเล็ต/สมาร์ทโฟน แบบเรียลไทม์ที่มีประสิทธิภาพ ได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อแก้ปัญหาทางเทคนิคได้อย่างรวดเร็ว
(ดูรายละเอียด : โปรแกรม TeamViewer Assist AR)
อีกหนึ่งโซลูชันด้านงาน AR ที่น่าสนใจคือ TeamViewer Frontline ที่ช่วยให้เจ้าหน้าที่ในคลังสินค้า เจ้าหน้าที่ในท่าเรือขนส่งสินค้า เจ้าหน้าที่กู้ภัย เจ้าหน้าที่ดับเพลิง รวมถึงพนักงานที่ต้องออกงานภาคสนาม ที่ไม่สะดวกในการเข้าถึงเครื่องคอมพิวเตอร์หรือแท็บเล็ต สามารถเข้าถึงคู่มือแนะนำขั้นตอนการทำงาน หรือข้อมูลในการจัดการคลังสินค้าได้ผ่านทางอุปกรณ์แว่นตาอัจฉริยะ (Smart Glass) ช่วยให้ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง แก้ปัญหาที่เจออยู่หน้างานได้อย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้ คุณมาริสา ยังได้กล่าวถึงโซลูชันอื่น ๆ ที่น่าสนใจของ TeamViewer อาทิ
รองรับการเข้าร่วมการประชุมได้ผ่านทุกอุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัว ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์, โน้ตบุ๊ก ทั้งบนระบบ Windows, macOS รวมถึงการเข้าร่วมประชุมออนไลน์ผ่านอุปกรณ์พกพาอย่าง แท็บเล็ต, สมาร์ทโฟน ทั้งบนระบบ Android, iOS ตอบความต้องการในการเข้าร่วมการประชุมได้ทุกที่ทุกเวลา
(ดูรายละเอียด : โปรแกรม TeamViewer Meeting)
TeamViewer IoT : โซลูชันที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับงานด้าน IoT (Internet of Things) เพื่องานตรวจวัดและควบคุมอุปกรณ์อัจฉริยะ เชื่อมโยงการทำงานระยะไกลผ่านเครื่อข่ายทั่วโลกของ TeamViewer โดยมีการประมวลผลและมอนิเตอร์ข้อมูลผ่านระบบคลาวด์
TeamViewer Engage : แพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับการมีส่วนร่วมกับลูกค้า เพื่อส่งเสริมการขายออนไลน์ การให้บริการลูกค้าผ่านช่องทางดิจิทัล การให้คำปรึกษากับลูกค้าผ่านการสื่อสารแบบวิดีโอ ที่ช่วยยกระดับความพึงพอใจของลูกค้า และยกระดับความภักดีต่อแบรนด์ (Brand Loyalty)
TeamViewer Classroom : โซลูชันสำหรับจัดการเรียนการสอนระยะไกล
คุณ Dale Williams ดำรงตำแหน่ง Enterprise Solutions Engineer บริษัท TeamViewer
สาธิตการใข้งานโปรแกรม TeamViewer Tensor และ TeamViewer Assist AR
อีกหนึ่งวิทยากรจากทาง TeamViewer ที่มาถ่ายทอดความรู้ ในงานสัมมนาครั้งนี้คือ คุณ Dale Williams ที่สาธิตให้เห็นการใช้งานจริงของโซลูชัน TeamViewer Tensor ที่เป็นแพลตฟอร์มบริการเชื่อมต่อระยะไกลสำหรับการใช้งานในองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ รวมถึงสาธิตการใช้งาน TeamViewer Assist AR ที่เป็นโซลูชันการให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคจากระยะไกล ด้วยเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ข้อดีของการที่องค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ เลือกใช้งาน Tensor คือ มีช่องทางให้สามารถจัดการผลิตภัณฑ์ทั้งหลายของ TeamViewer อาทิ TeamViewer Monitoring, Asset Management, Backup และ Web Monitoring ได้ในคอนโซลเดียว
นอกจากนี้ ยังสามารถใส่โลโก้ของบริษัทลงไปในหน้าตาการใช้งานของ TeamViewer เพื่อสร้างภาพลักษณ์ขององค์กร สามารถ กำหนด Policy การเชื่อมต่อจากระยะไกลว่าอนุญาตให้ทำสิ่งใดได้บ้างในระหว่างการเชื่อมต่อ อาทิ อนุญาตให้ควบคุมเครื่อง หรือการให้โอนไฟล์ เป็นต้น และสามารถบังคับใช้ Policy กับการเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ปลายทางใด ๆ ได้จากส่วนกลาง
โซลูชัน TeamViewer Tensor มี Event Log ที่สามารถตรวจสอบย้อนหลังทุกกิจกรรมการเชื่อมต่อระยะไกลที่เกิดขึ้นได้ แบบลงลึกในรายละเอียดว่าแต่ละ Session การเชื่อมต่อ เกิดขึ้นในวันไหน เวลาใด กระทำโดยใคร และทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง มีการแสดงรายละเอียดของไฟล์ที่ถ่ายโอนระหว่างกันด้วย เพื่อการตรวจสอบย้อนหลังในกรณีเกิดการใช้งานที่ไม่เหมาะสมของผู้ใช้งาน
ในส่วนของการจัดการผู้ใช้งาน (User Management) ของ TeamViewer Tensor นั้นสามารถทำงานร่วมกับ Azure AD และ Okta เพื่อนำรายชื่อผู้ใช้งานทั้งหมดในองค์กรธุรกิจมาใส่เอาไว้ในระบบของ Tensor ได้โดยอัตโนมัติ ลดความยุ่งยากที่ต้องเพิ่มผู้ใช้งานเอง และความเปลี่ยนแปลงทั้งหมดที่เกิดขึ้นบน Azure AD หรือ Okta (อย่างเช่นการเพิ่ม หรือลบผู้ใช้งาน) ก็จะถูกซิงค์มายัง Tensor โดยอัตโนมัติ
ฟีเจอร์ Single Sign-on ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งาน สามารถเข้าใช้ TeamViewer ด้วยการล็อกอินเข้าแอคเคาน์ของ Microsoft หรือ Okta ทำให้ไม่ต้องจดจำรหัสผ่านจำนวนมาก และยังสามารถทำงานร่วมกับ ระบบยืนยันตัวตน 2 ชั้น ที่องค์กรธุรกิจใช้งานอยู่ได้เป็นอย่างดี
Managed Group เป็นฟีเจอร์ใหม่ที่ได้รับการออกแบบมาให้องค์กรธุรกิจสามารถจัดกลุ่มของอุปกรณ์ได้ยืดหยุ่นกว่าเดิม โดยที่ PC หรือเซิร์ฟเวอร์แต่ละเครื่อง สามารถจัดใส่รายชื่อให้อยู่ได้มากกว่า 1 กลุ่ม และสามารถมอบหมายให้มีเจ้าหน้าที่มากกว่า 1 คน มีสิทธิเข้าดูแลอุปกรณ์เดียวกันได้ ด้วยสิทธิในการเข้าถึงที่แตกต่างกัน รวมถึงสามารถมอบหมายสิทธิการเข้าถึงให้แบบรายบุคคล หรือมอบหมายสิทธิให้กับกลุ่มของผู้ใช้งานได้ในคราวเดียว
ฟีเจอร์ Conditional Access ของ TeamViewer Tensor ใช้เราเตอร์เฉพาะสำหรับของแต่ละองค์กรธุรกิจ ในการเชื่อมต่อระยะไกล สามารถปิดกั้นไม่ให้มีการเชื่อมต่อไปยังภายนอกองค์กรโดยไม่ได้รับอนุญาต ทำให้ Tensor มีความปลอดภัยในการใช้งานสูงกว่า รวมถึงสามารถกำหนดกฎเกณฑ์ของอุปกรณ์ต้นทาง และอุปกรณ์ปลายทาง กำหนดกลุ่มของผู้ใช้ กำหนดช่วงเวลาที่อนุญาตให้ทำการเชื่อมต่อ รวมถึงกำหนดเงื่อนไขในการเชื่อมต่อได้อย่างละเอียด
TeamViewer Tensor สามารถใช้ประโยชน์จาก Microsoft Teams ในกรณีที่ฝ่าย IT Support กำลังแชทคุยกับผู้ใช้งานแล้วเกิดปัญหา ต้องการให้รีโมทเข้ามาแก้ไขเครื่องคอมพิวเตอร์ ก็สามารถเริ่ม Session การเชื่อมต่อระยะไกลด้วย TeamViewer Tensor ผ่านทางหน้าต่างแชทของ Microsoft Teams ได้เลยทันที
หน้าจอสาธิตการใช้งาน TeamViewer Assist AR
นอกจากนี้คุณ Dale Williams ยังได้สาธิตการใช้งานโซลูชัน TeamViewer Assist AR เพื่อขอความช่วยเหลือทางเทคนิคจากระยะไกล โดยเป็นการเชื่อมต่อระหว่างฝั่งผู้ขอความช่วยเหลือ ที่ใช้กล้องของเครื่อง iPad ส่งภาพแบบเรียลไทม์ของแผงวงจรไฟฟ้าที่เกิดปัญหา มาแสดงที่หน้าจอเครื่อง PC ของผู้เชี่ยวชาญ โดยที่ทางฝั่งของผู้เชี่ยวชาญสามารถพูดคุยให้คำแนะนำ รวมถึงสามารถมาร์กลูกศรชี้ด้วยเทคโนโลยี AR ลงไปยังตำแหน่งของแผงวงจรที่ต้องทำการแก้ไข
นอกจากนี้ยังสามารถใช้เทคโนโลยี OCR (Optical Character Recognition) เพื่อใช้กล้องส่องอ่านเลขซีเรียลนัมเบอร์ของเครื่องจักร หรืออุปกรณ์ที่เกิดปัญหา แล้วส่งตัวเลขไปให้ทางฝั่งของผู้เชี่ยวชาญได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน ซึ่งตัวเลขซีเรียลนัมเบอร์ เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์มากในการให้คำแนะนำเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับอุปกรณ์ต่าง ๆ
คุณเดชาภัค ทัศมาลัย Sales & Marketing Executive TeamViewer บริษัท ไทยแวร์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด
พิธีกรของงานสัมมนาครั้งนี้
โดยในงานสัมมนาออนไลน์ครั้งนี้มี คุณเดชาภัค จากบริษัท ไทยแวร์ฯ ดำเนินการเป็นพิธีกรตลอดงาน โดยในช่วงท้ายได้มีการแนะนำราคาโปรโมชันพิเศษของ TeamViewer สำหรับผู้ที่เข้าร่วมสัมมนา
และสำหรับใครที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชันต่าง ๆ และราคาของ TeamViewer สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ Teamviewer.in.th
ร่ม และแก้วมัค TeamViewer เป็นของที่ระลึกที่มอบให้ผู้เข้าร่วมงาน
กล่องของรางวัล Thaiware Box Sets มอบให้กับผู้โชคดีจากกิจกรรม Lucky Draw จำนวน 2 รางวัล
ของรางวัลใหญ่ เครื่องฟอกอากาศพกพา Bionic Cube
มอบให้กับผู้โชคดีจากกิจกรรม Lucky Draw จำนวน 1 รางวัล
ทาง Thaiware และ TeamViewer ขอขอบคุณผู้เข้าร่วมรับฟังงานสัมมนาทุกท่าน มา ณ โอกาสนี้